“วราวุธ” แถลงผลงาน พม. 6 เดือน ชู พันธกิจสำคัญ 9 ด้าน ต่อยอด 5×5 ฝ่าวิกฤตประชากร ยกระดับคุณภาพชีวิตทุกกลุ่มเป้าหมาย

“วราวุธ” แถลงผลงาน พม. 6 เดือน ชู พันธกิจสำคัญ 9 ด้าน ต่อยอด 5×5 ฝ่าวิกฤตประชากร ยกระดับคุณภาพชีวิตทุกกลุ่มเป้าหมาย

🔴วันที่ 9 เมษายน 2568 เวลา 10.00 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) แถลงผลงานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รอบ 6 เดือน โดยมีนายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุมปกรณ์ อังศุสิงห์ ชั้น 2 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

https://www.facebook.com/share/v/1AZsfqNSzS


Share:



กระทรวง พม. แสดงความห่วงใยประชาชนจากเหตุแผ่นดินไหว

กระทรวง พม. แสดงความห่วงใยประชาชนจากเหตุแผ่นดินไหว
วันที่ 28 มีนาคม 2568 – กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) แสดงความห่วงใยต่อพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว พร้อมให้กำลังใจและขอให้ทุกคนติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้ หากประชาชนต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อสายด่วน พม. โทร. 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรับคำปรึกษาและการช่วยเหลือในด้านต่างๆ

กระทรวง พม. จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และพร้อมให้การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยเร็วที่สุด


Share:



แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน

แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน
ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศจังหวัดนครราชสีมา
โดย : สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครราชสีมา

พฤติกรรมที่พึงปฏิบัติเพื่อป้องกันปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ

✅ ให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชา แต่งกายให้เหมาะสม
✅ หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ลับตาหรือทำงานสองต่อสองกับเพศตรงข้าม
✅ รักศักดิ์ศรี

พฤติกรรมที่ไม่พึงปฏิบัติเพราะเข้าข่ายเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ

🚫 การกระทำทางสายตา เช่น มองจ้องเขม็ง มองไล่ตั้งแต่หัวจรดเท้า มองหน้าอก
🚫 การกระทำด้วยวาจา เช่น วิจารณ์รูปร่าง พูดแซว เล่นมุกสองแง่สองง่าม
🚫 การกระทำทางกาย เช่น สัมผัสตัว กอด ลูบคลำ จูบ
🚫 การกระทำทางเพศที่มีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ เช่น ตำแหน่งงาน การเลื่อนเงินเดือน

สิ่งที่ควรทำเมื่อถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในหน่วยงาน

⚡ แสดงออกทันทีว่ารู้สึกไม่พอใจ ถอยห่าง
⚡ ส่งเสียงร้องขอความช่วยเหลือ
⚡ บันทึกเหตุการณ์เป็นภาพ เสียง หรือ VIDEO CLIP (ถ้าเป็นไปได้)
⚡ จดบันทึกเหตุการณ์เป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมวัน เวลา และพยาน
⚡ แจ้งปัญหาให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจในองค์กร
⚡ หารือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเพื่อนร่วมงาน
⚡ แจ้งผู้บังคับบัญชา

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ -7-724x1024.jpg


Share:



📢 ขอเชิญร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนความเสมอภาคทางเพศ

📢 ขอเชิญร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนความเสมอภาคทางเพศ!

ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ จังหวัดนครราชสีมา (Nakhon Ratchasima Gender Equality Center) จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างกลไกการทำงานแบบบูรณาการระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ให้เป็นพื้นที่กลางในการสนับสนุน ส่งเสริม และผลักดันประเด็นความเสมอภาคระหว่างเพศในทุกมิติ

🌟 เราทำอะไรบ้าง?
✅ ส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศผ่านนโยบายและการบริหาร
✅ ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะด้านความเสมอภาคทางเพศ
✅ สร้างสังคมที่ทุกเพศสามารถอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม
✅ สนับสนุนงานวิชาการ ข้อมูลสารสนเทศ และการวิจัย
✅ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนนโยบาย

👥 กลุ่มเป้าหมาย
👩‍💼 บุคลากรภาครัฐ อาสาสมัคร อพม.
🏢 เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
👨‍👩‍👧‍👦 ประชาชนทั่วไป

🤝 ร่วมมือกันเพื่อสร้างสังคมที่เท่าเทียม!
📌 ติดต่อเรา
🌐 www.nakhonratchasima.m-society.go.th
📧 Email: nakhonratchasima@m-society.go.th
📞 โทร. 044-243000, 044-241079

#GenderEquality #ความเสมอภาคทางเพศ #Korat #ศูนย์เสมอภาคระหว่างเพศจังหวัดนครราชสีมา


Share:



ความเท่าเทียมระหว่างเพศ ตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558

📢 สื่อการเรียนรู้ เรื่อง “ความเท่าเทียมระหว่างเพศ” ตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 🌈

เรียนรู้สิทธิ ความเสมอภาค และแนวทางการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เพื่อสร้างสังคมที่เคารพและยอมรับในความหลากหลาย 💖

📌 ติดตามข่าวสารจากกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) ได้ที่
🌍 เว็บไซต์ : www.dwf.go.th
👨‍👩‍👧‍👦 เพื่อนครอบครัว : คลิกที่นี่
📌 Facebook : /sorkor023068633
📺 Youtube : /@dwf.channel1344
📸 Instagram : pr.dwf123

📢 มาร่วมกันสร้างสังคมที่เท่าเทียม เคารพซึ่งกันและกัน 💪✨

#ความเท่าเทียมระหว่างเพศ #สื่อการเรียนรู้ #พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ2558
#กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว #กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์


Share:



จังหวัดนครราชสีมา ขอเชิญชวนประชาชนตอบแบบสอบถามโครงการสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2568 ซึ่งเป็นครั้งแรกในรูปแบบดิจิทัลของประเทศไทย

📢📢จังหวัดนครราชสีมา ขอเชิญชวนประชาชนตอบแบบสอบถามโครงการสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2568 ซึ่งเป็นครั้งแรกในรูปแบบดิจิทัลของประเทศไทย

*****************************

ระหว่างวันที่ 1 – 20 เมษายน 2568
ประชาชนสามารถตอบแบบสอบถามผ่านระบบออนไลน์ ใน 3 ช่องทางได้แก่ 👇

1. เว็บไซต์สำนักงานสถิติแห่งชาติ : https://nso.go.th

2. เว็บไซต์ทางรัฐ : https://ทางรัฐ.com

3. แอปพลิเคชันทางรัฐ

ซึ่งการตอบแบบออนไลน์นี้ จะไม่มีการตอบแบบผ่านช่องทางอื่นนอกเหนือจาก 3 ช่องทาง ☝️

******************************

จากนั้น ระหว่างวันที่ 21 เมษายน – 19 มิถุนายน 2568 จะจัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลซ้ำอีกครั้งซึ่ง จังหวัดนครราชสีมาจะดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ทราบเป็นระยะๆ ต่อไป

การทำสำมะโนประชากรและเคหะในครั้งนี้ เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับจำนวน โครงสร้างอายุและเพศ การกระจายตัวของประชากร และลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ

สำนักงานสถิติจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม


Share:



ขอเชิญชวนทุกท่านตอบแบบสอบถามออนไลน์ สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2568

เตรียมตัวให้พร้อม แล้วมาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศไปด้วยกัน!

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ขอเชิญชวนทุกท่านตอบแบบสอบถามออนไลน์ สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2568 พร้อมกันทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 เป็นต้นไป

#สำนักงานสถิติแห่งชาติ#NSO_of_Thailand#NSO#กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม#สำมะโนประชากรและเคหะ2568#DigitalCensus#EveryoneCounts_EveryoneMatter#สถิติ


Share:



แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาสังคมจังหวัดนครราชสีมาประจำปี งบประมาณ พ.ศ 25568 (ฉบับสมบูรณ์)

แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาสังคมจังหวัดนครราชสีมาประจำปี งบประมาณ พ.ศ 25568 (ฉบับสมบูรณ์)

https://drive.google.com/file/d/1NpwY_NB3VguZ0Krlp9IcfKqJTLCgFIw-/view?usp=sharing


Share:



ขั้นตอนการขอรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการสังคม

ขั้นตอนการขอรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการสังคม ซึ่งมีทั้งหมด 5 ขั้นตอนหลัก ได้แก่

1️⃣ เตรียมเอกสาร

  • กรอกแบบคำขอ
  • สำเนาบัตรประชาชนผู้ยื่นคำขอ
  • แผนที่ตั้งของหน่วยงาน
  • เอกสารสำคัญแสดงการจดทะเบียน (ถ้ามี)
  • หลักฐานประกอบการยื่นคำขอ

2️⃣ ยื่นคำขอ

  • ยื่นที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.)
  • พมจ. ตรวจสอบเอกสารและส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3️⃣ ตรวจสอบเอกสาร

  • เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้อง
  • ส่งเอกสารให้คณะผู้ประเมิน
  • ประสานงานเพื่อลงพื้นที่ตรวจประเมิน

4️⃣ ลงพื้นที่ประเมิน

  • คณะผู้ประเมินตรวจสอบองค์กร
  • ประเมินเอกสารและการดำเนินงานจริง

5️⃣ รายงานผล

  • หากผ่านการรับรอง ออกใบรับรองอายุ 3 ปี
  • หากไม่ผ่าน แจ้งเหตุผลและให้เวลาแก้ไข

📌 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
📞 026596180
📧 standard6180@gmail.com


Share: