ประชาสัมพันธ์การคัดเลือกเยาวชนดีเด่นเนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี 2567

ศึกษาหลักเกณฑ์คัดเลือกเยาวชนดีเด่นและรูปแบบการยื่นหลักฐานเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์ด้านล่าง
https://drive.google.com/drive/folders/1nDYYrQnJaBfKbyv903RhId7zD7cYnJfJ?usp=drive_link


Share:



มาตรการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ ของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประจำปีงบประมาณ 2567

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมที่จะขับเคลื่อน และผลักดัน ให้ทุกหน่วยงานในสังกัด ทั้้งที่อยู่ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เป็นองค์กรแห่งความโปร่งใส ปลอดจากการทุจริตและประพฤติมิชอบ สร้างความเชื่อมั่นศรัทธาแก่ประชาชน ผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยมีมาตรการสำคัญ ดังต่อไปนี้

  1. สร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งความสุจริต
  2. ปิดโอกาสการรับสินบน
  3. ให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ
  4. ลดความเสี่ยงต่อการทุจริตและประพฤติมิชอบ
  5. ผลักดันและยกระดับสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศในด้าน “คุณธรรมและความโปร่งใส”
  6. ให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหา
  7. การทุจริตและประพฤติมิชอบ

Share:



การประเมินความเสี่ยง (Rish Assessment)

การประเมินความเสี่ยง (Rish Assessment)
คือ กระบวนการวิเคราะห์และจัดลำดับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากการประเมินถึงโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและความรุนแรงของผลกระทบจากความเสี่ยงที่เคยเกิดขึ้นต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของกระบวนการทำงานขององค์กรหรือหน่วยงานนั้นๆ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้

1.การระบุความเสี่ยง (Risk Identification) เป็นขั้นตอนที่ผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องทำการระบุสาเหตุหรือแหล่งที่มาและปัจจัยของความเสี่ยงในการระบุความเสี่ยงจะต้องดำเนินการกับบุคลหลายๆ ฝ่าย เช่น ผู้ปฏิบัติงาน คณะทำงานความเสี่ยง ทีมผู้บริหารทุกระดับเพื่อพิจารณาข้อมูลที่ได้รวบรวมมา

2.การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Rish Analysis) คือ การประมวลข้อมูลของความเสี่ยงเพื่อการตัดสินใจที่จะดำเนินการจัดการกับความเสี่ยงเพื่อการตัดสินใจที่จะดำเนินการจัดการกับความเสี่ยงนั้น โดยพิจารณาถึงโอกาสในการเกิด (likelihood) ของเหตุการณ์หรือผลลัพธ์ที่จะกระทบกับการบรรลุเป้าหมายและความรุนแรงของผลกระทบ (Impact) ระยะเวลา ประสิทธิภาพของมาตรการควบคุมที่มีอยู่

3.การประเมินค่าความเสี่ยง (Risk Evaluation) เป็นการประเมินความเสี่ยงขั้นตอนสุดท้ายสำหรับการตัดสินใจว่าความเสี่ยงที่สนใจนั้นที่จะได้ระดับใด เช่น เสี่ยงสูง กลาง และต่ำ เป็นต้น โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่เข้ากับบริบทขององค์กรนั้น ๆ

  • โอกาส (Likelihood) หมายถึง ความถี่หรือโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงนั้น
  • ผลกระทบ (Impact) หมายถึง ความรุนแรงของความเสียหายหรือผลที่จะเกิดขึ้นตามมาจากผลสืบเนื่องของเหตุการณ์ความเสี่ยง
  • ระดับความเสี่ยง (Degree of Risk) หมายถึง สถานะของความเสี่ยงที่ได้จากการประเมินโอกาสและผลกระทบของแต่ละปัจจัยเสี่ยง แบ่งเป็น 5 ระดับ คือ สูง ปานกลาง น้อย และน้อยมาก

Share:



ประกาศสำนักงานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

เรื่อง ประกาศผู้ชนะการเสนอ จ้างสำรวจและบันทึกข้อมูลสถานการณ์ครอบครัวเข้มแข็งของครอบครัว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง


Share: